จะมีอาการเหมือนโรคกระเพาะอาหารชนิดมีแผล คือ ปวดท้องใต้ลิ้นปี่ แน่นท้อง ท้องอืด มีลมมาก คลื่นไส้ อาเจียน รับประทานแล้วอิ่มง่าย ดังนั้นการวินิจฉัยที่แน่นอนคือ การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร ถ้าผลปกติไม่มีแผล ไม่มีมะเร็ง จะสามารถสรุปได้ว่า เป็นโรคกระเพาะอาหารชนิดไม่มีแผล
อ่านต่อ http://www.e-instinct.com/?p=570
การรักษาโรคกระเพาะอาหาร
การรักษาที่สำคัญที่สุด คือเน้นเรื่องการแนะนำถึงวิธีการปฎิบัติตัว และการเข้าใจถึงการดำเนินโรค เนื่องจากเป็นโรคเรื้อรังที่เป็นๆ หายๆ เพื่อจะได้ไม่เกิดความกังวล เมื่อมีอาการเกิดขึ้นในภายหลัง
การดูแลตนเอง สิ่งที่ต้องเน้นเป็นสำคัญ คือ เรื่องของอาหาร
หลีกเลี่ยงอาหารเผ็ด เปรี้ยว รสจัด
อาหารหมักดอง เช่น ผลไม้ดอง ผักดอง
อาหารประเภทของทอด ของมัน เนื่องจากเป็นสารที่ย่อยยากกว่าสารชนิดอื่น
ผู้ป่วยโรคกระเพาะอาหารควรงดเครื่องดื่มแอลกฮอล์ บุหรี่ น้ำอัดลม
ไม่รับประทานจนอิ่มเกินไป เพราะจะทำให้กระเพาะขยายตัวกระตุ้นให้เจ็บ และปวดท้องมากขึ้น
ลดปริมาณอาหารมื้อหลัก และเสริมในมื้ออาหารว่าง เพื่อไม่กระตุ้นให้เกิดการปวดท้อง
พยายามอย่าให้ท้องว่างเกิน 3 ชม. และเคี้ยวอาหารให้ละเอียด เพื่อไม่ให้กระเพาะอาหารทำงานหนักมากขึ้น
หลีกเลี่ยงความเครียด ความวิตกกังวล เพราะความเครียดจะกระตุ้นให้กรดออกมาก ตามธรรมชาติเมื่อกรดออกมากจะสร้างแก็สมาก กระเพาะจะขยายและเกร็งตัวทำให้มีอาการปวดท้องมากขึ้น
อ่านต่อ http://www.iranoic.org/?p=375